กระไอ ๒ หมายถึง ก. ไอ, ใช้เข้าคู่กับคํา กระอัก หรือ กระแอม เป็น กระอักกระไอกระแอมกระไอ หรือ กระไอกระแอม.
ก. ทําเสียงไอเสียงแอม เช่น ถ้ามันจะเกริ่นกรายกระไอกระแอมแอบเข้ามา. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
[กฺรัก] น. แก่นขนุนใช้ย้อมผ้า; (โบ) โรงกรัก คือ โรงที่ต้มกรักในวัด.(ตะเลง ว่า แก่นไม้; ข. กราก่ ว่า แก่นขนุน).
[กฺรัก-] ดู สักขี ๒.
[กฺรัง] ก. แห้ง เช่น เสบียงกรัง, แห้งติดแน่นอยู่ เช่น ขี้มูกขี้ตากรัง.
[กฺรัง] น. เนิน เช่น กึกก้องไพรกรัง. (อนิรุทธ์), อเนกทั่วไพรกรัง.(ดุษฎีสังเวย).
[กะรัดชะ-, กะหฺรัดชะ-, กฺรัดชะ-] (แบบ) น. ร่างกาย เช่นเจ้างามยามประจงจัดกรัชกาย. (กลบทบัวบานกลีบขยาย).[ป. ก (น้ำ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในน้ำ(น้ำ หมายถึง น้ำกาม น้ำอสุจิ, ธุลีในน้ำ คือ ตัวสเปิร์มที่อยู่ในน้ำอสุจิ), ก (สรีระ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในสรีระ, กายอันบังเกิดด้วยดีด้วยธุลีเป็นไปในสรีระ(บาฬีลิปิกรม), ก (กุจฺฉิต = น่ารังเกียจ) + รช (ธุลี) + กาย =กายที่เกิดจากธุลีที่น่ารังเกียจ, กร (การกระทำ) + ช (เกิด) +กาย = กายที่เกิดด้วยสันถวะ (ความเชยชิด) อันมารดาบิดากระทำแล้ว].
[กะรันทะ-, กะรัน] (แบบ) น. ตลับ, หีบ, หม้อ, เช่น รัตนกรัณฑ์ =ตลับเพชร. (สังโยคพิธาน), กรัณฑรัตน. (ยวนพ่าย), กรัณฑขลังขังน้ำทิพมุรธา ภิเษกท่าน. (ราชาภิเษก ร. ๗). (ดู กรณฑ์ ๑).